วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความวิจัย





การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
เรื่อง การแก้ปัญหาการยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะลงตะกร้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4
โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน
ผู้วิจัย
นายเมธาวุฒิ วิลเลี่ยมส์
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานสอนในสถานศึกษา 1
หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขา พลศึกษาและนันทนาการ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ปีการศึกษา 2552


บทคัดย่อ
ชื่อผู้วิจัย นายเมธาวุฒิ วิลเลี่ยมส์ ชื่องานวิจัย การแก้ปัญหาการยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะลงศีรษะ ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตร
วิทยาคาร)โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน
อาจารย์นิเทศประจำโรงเรียน นายพรีดล เพชรานนท์
อาจารย์นิเทศวิชาเอก นายพรีดล เพชรานนท์

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างแบบฝึกแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4
2. เพื่อเปรียบเทียบผลการแก้ปัญหา ของนักเรียนในการยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะ ก่อนและหลังการฝึก
ผลการวิจัย
หลังจาการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการ การยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะ ปรากฏว่า นักเรียนมีความสามารถในการการยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะ มากขึ้น และจารการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ปรากฏว่าคะแนนหลังการทดลสูงกว่าก่อนการฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน


วิชาเอกพลศึกษา ลายมือชื่อนักศึกษา.....................................................................................

ลายมือชื่ออาจารย์นิเทศประจำโรงเรียน......................................................

ลายมือชื่ออาจารย์ (พี่เลี้ยง) ..................................................................

ปีการศึกษา.................................................



เรื่อง
การแก้ปัญหาการยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะลงตะกร้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4
โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การฝึกซ้อมกีฬาประเภทต่างๆต้องเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานด้านการทรงตัวต้องมี สมรรถภาพทางกายที่ดีเป็นองค์ประกอบและต้องอยู่ในระเบียบวินัยภายใต้กฎกติกา ของกีฬาแต่ละประเภทและที่สำคัญต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬารู้จักยอมรับความพ่าย แพ้ยอมรับความสามารถของผู้อื่น กีฬาเป็นยาวิเศษที่สามารถรักษาโรคได้หลายประเภทและยังเป็นภูมิคุ้มกัน อบายมุขที่จะชักนำเยาวชนให้เข้าไปหลงงมงาย เนื่องจากในสังคมปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุให้เยาวชนหลงผิดเป็นจำนวนมาก การศึกษาต้องบรรจุวิชาการที่มีพลังอำนาจเพียงพอที่จะชักนำให้เยาวชนไม่เข้า ไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขเหล่านั้น นั่นคือใช้ดนตรีหรือกีฬาเป็นเครื่องดึงดูดใจให้เยาวชนหันมาเอาดีทางด้านนี้ เป็นกิจกรรมที่ทำยามว่างมีพื้นฐานของบันเทิงและการมีบุคลิกภาพที่ดีอันจะนำ มาซึ่งวุฒิทางอารมณ์ที่ดี เราต้องให้เยาวชนฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทรงตัวที่ถูกต้องตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพให้สง่างาม ถึงแม้ว่าพันธุกรรมจะมีอิทธิพลต่อรูปร่างและบุคลิกลักษณะของคนเรา แต่การฝึกปฏิบัติ การออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษะก็จะทำให้บุคลิกภาพและ สมรรถภาพแตกต่างไปจากพันธุกรรมได้ด้วย ในสถาบันครอบครัวพ่อแม่ผู้ปกครองต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อความอยู่รอดและสุข สบายของสมาชิกในครอบครัวย่อมไม่มีเวลาให้กับการฝึกทักษะการทำให้ร่างกายมี สมรรถภาพที่ดีให้กับบุตรหลาน ด้วยเหตุนี้หลักสูตรการศึกษาจำเป็นต้องบรรจุสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการ ฝึกปฏิบัติให้เยาวชนไทยเป็นคนที่มีสมรรถภาพร่างกายที่ดี เพื่อจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจในอนาคต ตลอดจนฝึกทักษะพื้นฐานทางด้านกีฬาให้กับเยาวชนไทย ปลูกฝังให้เยาวชนไทยรักกีฬาและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์หลีกเลี่ยง ปัญหาทางสังคมที่จะตามมา การสร้างแบบฝึกเสริมสมรรถภาพร่างกายชุดนี้มิใช่สร้างจากการประสบปัญหาในด้าน การเรียนรู้ แต่เป็นการสร้างแบบฝึกเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น หลังจากฝึกปฏิบัติจากกิจกรรมต่างๆในแบบฝึกเสริมทักษะชุดนี้ และเพื่อพัฒนาสมรรถภาพร่างกายของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย
1. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมสร้างสร้างสมรรถภาพในการเล่นกีฬา
2. เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติตามกฎกติกาของการเล่น
3. เพื่อใช้เป็นสื่อเผยแพร่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

สมมุติฐานการวิจัย
นักเรียนสามารถยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะลงตะกร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังการฝึก


ขอบเขตการวิจัย
เนื้อหาวิชาเรื่อง การแก้ปัญหาการยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะลงตะกร้า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4/4
โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4/4
จำนวน 8 ชั่วโมง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2553 จำนวน 40 คน
กลุ่มตัวอย่างประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 ที่ได้จากการทดสอบ การยิงลูกแชร์บอลลงตะกร้า ผลทดสอบยิงไม่ลง จำนวน 5 คน
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สุวิมล ว่องวาณิช. (2546)การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ( Classroom Action Research).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิธีดำเนินการวิจัย
นวัตกรรมที่ใช้
1.ทดสอบความสามารถก่อนเรียนโดยให้นักเรียนทำการทดสอบก่อนเรียน
2.ให้นักเรียนตั้งเป็นแถว 2 แถว แยกชายหญิงยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะให้เพื่อนที่ยืนถือตะกร้าแชร์บอลอยู่ฝั่ง ตรงข้ามให้ลงตะกร้า โดยให้ทำแบบฝึกเสริมทักษะวันละ 1 แบบฝึก ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2553
3. ทดสอบความสามารถหลังเลิกเรียนโดยให้นักเรียนทำการทดสอบแบบปฏิบัติ
4. นำผลการเรียนของนักเรียนมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

วิธีสร้างวัตกรรม
1. สร้างแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานและแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียน บางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 1
1.2 จัดหาแบบฝึกเพื่อมาสร้างการฝึกให้นักเรียน โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานในกีฬาแชร์บอลจำนวน 4 ชุด แต่ละชุดจะใช้ 2 ครั้ง และแบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกจำนวน 1 ชุดมีดังนี้

แบบฝึกชุดที่1 ยิงลูกแชร์บอลให้ลงตะกร้า ระยะ 2 เมตร
แบบฝึกชุดที่2 ยิงลูกแชร์บอลให้ลงตะกร้า ระยะ 3 เมตร
แบบฝึกชุดที่3 ยิงลูกแชร์บอลให้ลงตะกร้า ระยะ 4 เมตร
แบบฝึกชุดที่4 ยิงลูกแชร์บอลให้ลงตะกร้า ระยะ 5 เมตร
1.3 สร้างแบบฝึก โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการยิงลูกแชร์บอล ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วย
1.1.1 หัวเรื่อง
1.1.2 สาระสำคัญ
1.1.3 จุดประสงค์
1.1.4 กระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย

- ขั้นอธิบายและสาธิต

- ขั้นฝึกปฏิบัติ
วิธีการฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน มีวิธีดังนี้
แบบฝึกชุดที่ 1 ยิงลูกแชร์บอล ระยะ 2 เมตร
ถือลูกแชร์บอลไว้เหนือศีรษะ ยืนเท้านำเท้าตามพร้อมกับสะบัดข้อมือเพื่อปล่อยลูกแชร์บอลให้ลอยไปลงตะกร้า ส้นเท้าเปิดเล็กน้อยลำตัวตรง
(ภาพประกอบ)















จังหวะลูกแชร์บอลลงสู่ตะกร้า
แบบฝึกชุดที่ 2 ยิงลูกแชร์บอล ระยะ 3 เมตร
ถือลูกแชร์บอลไว้เหนือศีรษะ ยืนเท้านำเท้าตามพร้อมกับสะบัดข้อมือแรงขึ้นเล็กน้อยเพื่อปล่อยลูกแชร์บอล ให้ลอยไปลงตะกร้า จะเห็นได้ว่าส้นเท้าหลังเปิดเล็กน้อยแขนยืดตรงพร้อมกับลำตัวโน้มไปข้างหน้า


แบบฝึกชุดที่ 3 ยิงลูกแชร์บอล ระยะ 4 เมตร
ถือลูกแชร์บอลไว้เหนือศีรษะ ยืนเท้านำเท้าตามพร้อมกับสะบัดข้อมือแรงขึ้นพอประมาณเพื่อปล่อยลูกแชร์บอล ให้ลอยไปลงตะกร้าจะเห็นได้ว่าส้นเท้าหลังและหน้าเปิดมากขึ้นแขนตึงพร้อมกับ ลำตัวโน้มไปข้างหน้า


แบบฝึกชุดที่ 4 ยิงลูกแชร์บอล ระยะ 5 เมตร
ถือลูกแชร์บอลไว้เหนือศีรษะ ยืนเท้านำเท้าตามพร้อมกับสะบัดข้อมือแรงมากขึ้นเพื่อปล่อยลูกแชร์บอลให้ลอย ไปลงตะกร้า จะเห็นได้ว่าต้องดึงแขนทั้งสองข้างไปด้านหลังเพื่อเป็นแรงช่วยส่งส้นเท้า หลังปิดจังหวะส่งจะใช้แรงมากเพื่อให้ลูกแชร์บอลลงตะกร้าพร้อมกับลำตัวโน้มไปข้างหน้าส้นเท้าหน้าเปิดขาหลังจะยกสูงขึ้นจากพื้น


เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการทำวิจัยในครั้งนี้จะใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการยิงลูกแชร์บอลลงสู่ตะกร้า และแบบทดสอบก่อนและหลังฝึก

การเก็บรวบรวมข้อมูล
นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และจากการทำแบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการ ยิงลูกแชร์บอลลงสู่ตะกร้า ชุดละ2 ครั้ง มาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ตารางบันทึกคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน



คนที่ ทดสอบ
ก่อนเรียน แบบฝึกเสริมทักษะ ทดสอบ
หลังเรียน
ชุดที่ 1 ชุดที่2 ชุดที่3 ชุดที่4 ชุดที่1 ชุดที่2 ชุดที่3 ชุดที่4
10 10 10 10 10 10 10 10 10 10
1 5 6 7 6 8 9 8 7 9 7
2 3 9 8 7 6 8 9 8 9 9
3 4 7 6 8 9 8 7 9 8 8
4 6 6 8 6 6 8 8 9 8 8
5 4 8 8 9 8 7 6 6 8 9
รวม 22 36 37 36 37 40 38 39 42 41
X 4.40 7.20 7.40 7.20 7.40 8.00 7.60 7.80 8.50 8.20

การคิดวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. วิเคราะห์คะแนนความสามารถในการทำแบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการยิงลูกแชร์ บอล ลงสู่ตะกร้า ด้วยค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ X และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ตารางวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 2 แสดงคะแนนความสามารถในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
รายการ N X S.D. ค่าเฉลี่ยร้อยละ
ทดสอบก่อนเรียน 5 4.40 44%
ทดสอบหลังเรียน 5 8.20 82%



จากตารางที่ 1 และ ตารางที่ 2 พบว่าคะแนนความสามารถในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และทำแบบฝึกเสริมทักษะ 8 ครั้ง แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการยิงลูกแชร์บอลลงสู่ตะกร้า สูงขึ้น

ตารางที่ 3 แสดงคะแนนความสามารถในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 5 คน คะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังต่อไปนี้

คนที่ คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน ความก้าวหน้า

1 5 7 +2
2 3 9 +6
3 4 8 +4
4 6 8 +2
5 4 9 +5
คะแนนรวม 22 41 +19
คะแนนเฉลี่ย 4.40 8.20 +3.80
จากตารางที่ 3 พบว่า คะแนนก่อนเรียน เฉลี่ย 4.40 คะแนน
คะแนนหลังเรียน เฉลี่ย 8.20 คะแนน
ดังนั้น คะแนนนักเรียนเพิ่มขึ้น เฉลี่ย +3.80 คะแนน
แสดงว่า หลังจากใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการ ยิงลูกแชร์บอลลงสู่ตะกร้า ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการยิงลูกแชร์บอลลงสู่ตะกร้า สูงขึ้น

ผลการวิจัย
หลังจากการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการยิงลูกแชร์บอลลงสู่ตะกร้า ปรากฏว่า นักเรียนมีความสามารถในการยิงลูกแชร์บอลลงสู่ตะกร้า มากขึ้น และจารการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ปรากฏว่าคะแนนหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึกทักษะ

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

1. สรุปผล
1.1 จาการทดลองใช้แบบฝึกเสริมสร้างทักษะกีฬาแชร์บอล ที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นมาใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียน รู้พลศึกษา ชั้น ประถมศึกษาปีที่4 กับกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ แบบฝึกเสริมทักษะพื้นฐานเสริมสร้างทักษะกีฬาแชร์บอล มีความเหมาะสมมากที่สุด

1.2 ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่4 ของกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้แบบฝึกสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึก โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 พอจะสรุปได้ว่าแบบฝึกเสริมทักษะชุดนี้มีคุณภาพและประสิทธิภาพอยู่ในระดับที่ สูงเป็นที่น่าพอใจ

2. อภิปรายผล

ผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกมีคุณภาพและประสิทธิภาพ อย่างดียิ่ง ส่งผลให้มาตรฐานการเรียนรู้พลศึกษามีระดับสูงขึ้น เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1.1 แบบฝึกเสริมสร้างทักษะกีฬาแชร์บอล ชั้นประถมศึกษาปีที่4 เป็นแบบฝึกที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามผลของการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว

1.2 แบบฝึกนี้สร้างขึ้นอย่างถูกวิธี ได้ผ่านขั้นตอนการสร้างแลพัฒนาอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่เอกสารหลักสูตรและเอกสารและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการใช้หลัก สูตร และยังได้รับการแนะนำข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ความเหมาะสมของเนื้อหา และรูปแบบที่นำเสนอในแบบฝึกเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย รวมทั้งการนำแบบฝึกไปทดลองใช้

1.3 การสอนโดยใช้แบบฝึก นักเรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้

1.4 แบบฝึกเรียงลำดับความยากง่ายสอดคล้องตามธรรมชาติการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนรู้ผลการทำแบบฝึกของตนเองทุกครั้ง ทำให้เรียนรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ จึงสรุปได้ว่าแบบฝึกเสริมสร้างทักษะกีฬาแชร์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษา
ชั้น ประถมศึกษาปีที่4 มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นตามเกณฑ์ทางการเรียนรู้ที่โรงเรียนตั้งไว้

3.ข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพื่อประโยชน์ต่อวงการศึกษาดังนี้

3.1 แบบฝึกเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่4 นำไปใช้ได้กับทุกแบบเรียน เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์พลศึกษา จะนำไปใช้กับขั้นตอนฝึกทักษะ ขั้นตอนที่ 5 ก็ได้ เพราะในการจัดทำได้ยึดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นแนวทางในการจัดทำ
3.2 ก่อนนำแบบฝึกไปใช้ผู้สอนควรศึกษารายละเอียดของทุกกิจกรรมก่อนนำไปใช้
3.3 แบบฝึกนี้สามารถใช้ได้กับทุกระดับช่วงชั้น และทุกบทเรียน
3.4 ในการจัดทำแบบฝึกต้องขอความร่วมมือจากทางโรงเรียนในเรื่องของงบประมาณ เวลา และสถานที่ในการทดลองใช้ นอกจากนี้ต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำ
3.5 แบบฝึกจะเกิดความสมบูรณ์ครูผู้สอนต้องใช้ควบคู่ไปกับแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น จัดกิจกรรมให้ครบทุกขั้นตอน ต้องตรวจแบบฝึกอย่างเป็นปัจจุบันให้ผู้เรียนรู้ผลทันที พร้อมกับเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้ผู้เรียนได้รู้ทุกครั้ง
3.6 ปรับและยืดหยุ่นกิจกรรมการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม
3.7 ทำการเผยแพร่แบบฝึกเสริมสร้างทักษะกีฬาแชร์บอล เพื่อประโยชน์ต่อวงการศึกษาให้กว้างไกลที่สุด


 

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะทางด้านกีฬาแชร์บอลดีขึ้นหลังจากการใช่แบบฝึก
2. ใช้แบบฝึกเสริมสร้างทักษะกีฬาแชร์บอลในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
3. แบบฝึกเสริมสร้างทักษะกีฬาแชร์บอลได้เผยแพร่ไปยังสถานที่ต่างๆ
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีระดับความรู้ด้นพลศึกษาเหมาะสมกับระดับชั้น
5. นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์กับการฝึกกิจกรรมทางพลศึกษาและ นันทนาการ

รายการอ้างอิง
สุวิมล ว่องวาณิช. (2546)การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ( Class room Action Research).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ภาคผนวก


แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกทักษะ

ชื่อแบบทดสอบ การยิงลูกแชร์บอลลงตะกร้า
คำชี้แจง ไห้นักเรียนเข้าแถวตอนเรียง 1 เพื่อเป็นระเบียบและง่ายต่อการดูแล ให้นักเรียนยิงลูกแชร์บอล ให้ลงตะกร้าแล้วกลับไปต่อแถวหลังเพื่อนเพื่อรอการยิงลูกแชร์บอลอีกครั้ง มีกฎอยู่ว่า ต้องยิงลูกแชร์บอลเหนือศีรษะเท่านั้น ถ้านักเรียนคนไหนยิงลูกแชร์บอลไม่ลงให้ไปเปลี่ยนคนที่ถือตะกร้า หรือ ถ้ายิงลงทุกคนให้คนที่ 5 ไปเปลี่ยนเป็นคนถือตะกร้า เพื่อให้การฝึก (เล่น) ครบทุกคน

ภาพประกอบ

ภาพการเล่นทีมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4
เครื่องมือที่ใช้ทำการวิจัย
สนาม
ลูกแชร์บอล
ตะกร้าแชร์บอล
นกหวิด

เขียนโดย cena ที่ 6:15